somwany

somwany
i^x4kr

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
         ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
                        ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
                   ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
                   แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
                        “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                   ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ประวัติความเป็นมา ความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
18 สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
  
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์แห่งชาติไทย"

ความเป็นมาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี ให้มีวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" วันวิทยาศาสตร์แห่งชาตินี้เป็นเพราะพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ ต่อไปมาศึกษาที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  

ที่มาของชื่อ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาติให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
 
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554
 
ภาพเกี่ยวกับ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554

รัชกาลที่ 4 กับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทยในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนาคือวิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดานไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง และถือเป็นเหตุของที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอีกทางหนึ่ง 
  
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง, วันวิทยาศาสตร์ 2554
 
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง

 

ดาราศาสตร์ไทยและวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลาพระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์ 
โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์

โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ 
  

ทรงพิสูจน์ผลการคำนวนทางดาราศาสตร์-วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

            ต่อมาใน วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวนของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 
ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง-ที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
            โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว 
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
ทรงได้รับการยกย่องเกียรติคุณ-ที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
            ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เซอร์แฮรี ออด ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ไว้ และเมื่อ พ.ศ.2518 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ทำการแปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้" 

            ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์  
 
สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554
 
สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
สถาปนาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
          ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็น วันวิทยาศาสตร์ ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"  พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ เนื่องในการสถาปนาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

          ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึงบิดาแห่งวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
 
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก
 
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ 8
 
            เนื่องจากวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๓ พระราชทานนามว่า "หอชัชวาลเวียงชัย" ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ
ดาวหางฟลูกเกอร์กูส วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฏมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า " ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" แจ้งแก่ประชาชน"
ดาวหางโดนาติ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ 2401 และคืนต่อๆมา จนถึงวันที่ 4มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา ๙ เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401 ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่างๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า "ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่างๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิ ได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล"
 
นิทรรศการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 
นิทรรศการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดาวหางเทพบุท วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet ) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์ มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์
        นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อจัดงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จนได้รับความสนใจเข้าร่วมงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาตินี้ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เพราะมีเหตุมาจากวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ระหว่าง วันที่ 18 - 24 สิงหาคม
 
ร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
 
ร่วมกิจกรรมในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ความหมายของคำศัพท์ในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
    วิทยาศาสตร์ หมายถึง
 
        วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
 
        การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ
 

ภาพกิจกรรมเนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

กิจกรรมวันงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปภาพวันแม่





วันแม่แห่งชาติ

 ประวัติวันแม่

         
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป 

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความ สำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ 

          ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

 กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

         
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

          2. จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ  

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่
 การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
          งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

          ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ
 สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่

          สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย
 คำขวัญวันเเม่ ประจำปี พ.ศ.2553

         
"แผ่นดินนี้ แม่ของลูก ใช้ปลูกข้าว กี่แสนก้าว ที่เดินซ้ำ ย่ำหว่านไถ บำรุงดิน จนอุดม สมดังใจ หวังนาไทย เป็นของไทย ไปนิรันดร์"

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ขนมเค้ก


สําหรับคนที่ผ่านไปมาบริเวณซอยทะลุ จาก ทองหล่อ 13 มุ่งหน้าไปทางอโศก จะเห็นร้านอาหารและบริการมากมาย แต่ก็ ไม่มีร้านไหนสะดุดตา และดูอินเทรนด์เท่ากับ "เค้กวอล์ก" (Cake Walk) ด้วยร้านที่กรุกระจกรายรอบ ส่องให้เห็นการตกแต่งออกแนวแฟชั่น ด้วยโคมไฟกิ๊บเก๋ แฝงความหรูหรา กับเก้าอี้นั่งที่ดูคล้ายกระจกแต่งหน้า หรือบ้านตุ๊กตา ในโทนสีขาวม่วงแสนสุดจะน่ารัก

เค้กเด่นๆ ของที่นี่ที่ขายดิบขายดี ได้แก่ สตรอเบอร์รีช็อตเค้ก
ที่แม้หมดหน้าสตรอเบอร์รีก็ยังมีให้รับประทาน แถมสตรอเบอร์รี่ยังให้โตเท่าผลส้ม...แหะนี้เกินจิงไปนิสนึง....อีกชิ้นหนึ่งที่ไม่น่าพลาดคือเค้กช็อกโกแลตเอิร์ลเกรย์ที่ได้ความเข้มข้นของช็อกโกแลต นุ่มลิ้นของเนื้อเค้กอันหวานหอม....ถ้ากินคู่กับชาสักแก้วดูเข้ากาน....เข้ากัน แล้วใครจะไปเค้กวอล์ก แค่เลี้ยวเข้าซอยทองหล่อ 13 (ปากซอยเป็นร้านอาหารเก่าแก่ชื่อต้นเครื่องมั้งนะ) ไปราวๆ 300 เมตร ร้านอยู่ทางด้านขวามือ หลงทาง โทร. 02-390-0145

Souffle house ร้านเล็กๆ สีเหลืองส้มสะดุดตา เก้าอี้สีแดง
ตู้เค้กที่อัดแน่นไปด้วยเค้กหน้าตาน่าทานอยู่ตามไปหมด เค้กที่นี้ทั้งหมดผ่านการปรับปรุง ทั้งสูตรและส่วนผสม มีการลดปริมาณน้ำตาลเพื่อสุขภาพและรสชาติของเค้กที่จะไม่หวานจนเลี่ยน ร้านนี้ ขอบอกว่าเนื่อหาจะเน้นหนักไปที่เค้ก

Amaretto เค้กช๊อคโกแลต สไตล์แมนๆ ด้วยส่วนผสมเหล้า Amaretto จากฮอลแลนด์ โชยกลิ่นคาราเมลอยู่นิดๆ อัลมอนต์เคลือบอยู่ด้านบน เพิ่มรสเข้มข้น

Raspberry Yoghurt Cheese Cake ชิ้นนี้ไม่อ้วนเหมาะกับสาวๆ ด้วยมูสโยเกริต์ราสเบอรี่กับชีสเค้ก กัดคำแรกก็นุ่ม รสเปรี้ยวจะมาทักทายก่อนตามด้วยความหวานแบบผลไม้ เป็นเค้กอีกชิ้นที่ขายดี
ร้านอยู่ที่: 105 ถ.จรัสเวียง แขวงสีลม

ข่าว

                 กระแสการประท้วงต่อต้านรัฐบาลลุกลามไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง หลังการโค่นล้มผู้นำเผด็จการในอียิปต์และตูนิเซียประสบความสำเร็จ
ประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจาดแห่งอิหร่าน กล่าวประณามการประท้วงที่เกิดขึ้นทั่วประเทศว่า "ไร้ทิศทาง" และเตรียมลงโทษผู้ปลุกระดมประชาชน
นายอาห์มาดิเนจาดกล่าวกับสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลว่า มี"ศัตรู" พยายามที่จะทำให้ความรุ่งโรจน์ของประเทศได้รับความมัวหมอง เป็นที่แน่ชัดว่าอิหร่านมีศัตรูหลายฝ่าย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความเจริญสูงสุด และต้องการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก อย่างไรก็ตาม แม้จะมีศัตรูมากเพียงใด แต่พวกก่อการประท้วงก็จะไม่มีวันสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายได้
        พบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมากจากเหตุปะทะระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและตำรวจในกรุงเตหะราน รวมทั้งเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคง 9 นาย หลังจากผู้สนับสนุนฝ่ายค้านหลายพันคนชุมนุมตามท้องถนนต่อต้านประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจาด
สำนักข่าวเออร์นาของทางการอิหร่าน รายงานเมื่อวานนี้ (15 ก.พ.) โดยอ้างคำกล่าวของพล.ต.อ.อาห์หมัด เรซา ราดาน รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ว่ามีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บกว่าสิบคน ในการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงกับผู้ประท้วง โดยได้มีการจับกุมผู้ประท้วงไปจำนวนหนึ่ง
พล.ต.อ.ราดาน กล่าวว่า กลุ่มมูจาฮีดีนแห่งอิหร่าน ซึ่งเป็นกลุ่มนอกกฎหมาย ได้ยิงเข้าใส่ประชาชนและหน่วยงานด้านความมั่นคง จนทำให้ประชาชนเสียชีวิต พร้อมระบุว่าการชุมนุมครั้งนี้ได้รับแนวทางจากสหรัฐ อังกฤษ และอิสราเอล
ขณะที่สำนักข่าวฟาร์สนิวส์ซึ่งสนับสนุนรัฐบาล กล่าวว่าประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงถูกลูกหลงจากปืนของผู้ประท้วง และเสียชีวิต 1 ราย
        นายบารัค โอบามา กล่าวต่อสถานการณ์ครั้งนี้ว่า "ผมรู้สึกว่ามันประหลาดและน่าขันที่รัฐบาลอิหร่านแสร้งแสดงความยินดีต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ แต่กลับพบว่าตนเองกระทำในสิ่งที่ขัดแย้ง โดยการทำร้ายหรือสังหารประชาชนที่พยายามเรียกร้องด้วยความสงบ" นอกจากนั้นยังแสดงความคิดเห็นว่า สหรัฐฯไม่ได้เป็นผู้บงการให้เกิดการประท้วงขึ้นในอิหร่าน แต่หวังว่าประชาชนจะแสดงความกล้าหาญในการลุกขึ้นมาแสดงความต้องการเสรีภาพและรัฐบาลที่สามารถเป็นตัวแทนของพวกเขาได้อย่างแท้จริง
ส่วนในอียิปต์นั้น สภาสูงสุดแห่งกองทัพเรียกร้องแกนนำสหภาพแรงงานให้ยุติการประท้วง หลังจากมีการนัดหยุดงานของคนงานภาคธนาคาร ขนส่ง สาธารณสุข น้ำมัน การท่องเที่ยว และสิ่งทอ รวมถึงสื่อและหน่วยงานภาครัฐ

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันมาฆาบูชา

พิธีวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 3 หรือประมาณราวเดือนกุมภาพันธ์ แต่หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำกลางเดือน 4 หรือประมาณเดือน มีนาคม

วันมาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า "มาฆปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 ถือเป็นวันจาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ

๑. พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งจาริกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แควันมคธ

๒. พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา (ดูรายละเอียดได้ใน พิธีบรรพชาอุปสมบท)

๓. พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย

๔. วันที่มาประชุม ตรงกับวันเพ็ญเดือน มาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน 3) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์

โอวาทปาฏิโมกข์

โอวาทปาฏิโมกข์ คือ ข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา 3 ประการ ได้แก่

๑. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง

๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม

๓. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

การปลงมายสังขาร

หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้และสั่งสอนพระธรรมมาเป็นระยะเวลา 45 ปี พระองค์ทรงปลงมายุสังขาร คือตั้งพระทัยว่า "ต่อแต่นี้ไปอีก 3 เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน" การปลงอายุสังขาร ตรงกับวันมาฆบูชาในปีที่พระพุทธองค์มีพระชนมายุ 80 พระชันษา

ด้วยเหตุนี้ ในวันมาฆบูชา ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า รวม 2 ประการ คือ เป็นวันที่แสดงโอวาทปาติโมกข์ และเป็นวันปลงอายุสังขาร

ประวัติการประกอบพิธีมาฆบูชา

ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ดังนี้

การมาฆบูชานี้ แต่เดิมก็ไม่ได้เคยทำมา พึ่งเกิดขึ้นเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตามแบบโบราณบัณฑิตนิยมไว้ว่า วันมาฆบูชามีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์ เป็นวันที่พระอรหันต์พุทธสาวก 1,250 ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์สี่ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ เป็นการประชุมใหญ่และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์จึงได้ถือเอาเหตุนั้นกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ 1,250 พระองค์นั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสและสังเวช

การพระราชกุศลนั้น เวลาเช้าพระสงฆ์วัดบวรนิเวศน์และวัดราชาประดิษฐ์ 30 รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเหมือนอย่างที่วัดแล้ว จึงได้สวดมนต์ต่อไป มีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ 1,250 เล่ม มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงได้มีเทศนาโอวาทปาติโมกข์กัณฑ์ 1 เป็นเทศนาทั้งภาษามคธและภาษาสยาม เครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน 3 ตำลึงและขนมต่าง ๆ เทศน์จบพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์รับสัพพีทั้ง 30 รูป

การมาฆบูชานี้เป็นเดือนสามบ้าง เดือนสี่บ้าง ตามวิธีปักษคณนาฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แต่คงอยู่ในเดือนสามโดยมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทุกปีมิได้ขาด แต่ในแผ่นดินปัจจุบันนี้ (หมายถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จออกบ้าง ไม่ได้ออกบ้าง เพราะมักจะเป็นเวลาประสบกับที่เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อย ๆ ถ้าถูกคราวเสด็จพระราชดำเนินไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็ทรงทำมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีกส่วนหนึ่งต่างหากนอกจากในพระบาทมหาราชวังฯ

การประกอบพิธีเวียนเทียน ในวันมาฆบูชา

การประกอบพิธีในวันสำคัญนี้ แบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ

๑.พิธีหลวง (หรือพระราชพิธี)

๒.พิธีราษฎร์

๓.พิธีสงฆ์

การประกอบพระราชพิธี

สำนักพระราชวัง จะมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ในวันมาฆบูชา ออกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันทุกปี โดยปกติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จไปบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพระองค์เอง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) แต่บางปีจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทน

การประกอบพิธีเวียนเทียนในวันมาฆบูชา สำหรับประชาชนทั่วไป

หากเป็นสถานศึกษา ครูอาจารย์จะนำนักเรียนไปประกอบพิธีในวันมาฆบูชาที่วัด โดยบอกกำหนดนัดหมายที่แน่นอน รวมทั้งบอกวัดที่จะไปทำพิธี นักเรียนทุกคนจะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปยังสถานที่นัดหมาย ส่วนใหญ่จะจัดพิธีในตอนบ่ายหรือเย็น

สำหรับประชาชนทั่วไป จะจัดเตรียมเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ไปพร้อมกันที่วัด ในเวลาเย็นหรือค่ำ เพื่อประกอบพิธีมาฆบูชา การประกอบพิธีส่วนใหญ่ จะกระทำกันที่โบสถ์เพราะหลังจากฟังโอวาทและสวดมนต์เสร็จแล้ว จะทำการเวียนเทียนรอบโบสถ์

ในวันมาฆบูชา พระสงฆ์จะเป็นผู้นำในการประกอบพิธี มีการให้โอกาส สวดมนต์ และ นำในการเวียนเทียน มีการแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา มี การนั่งสมาธิเจริญภวนา ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวสุดแต่เห็นสมควร

ข้อปฏิบัติสำหรับชาวพุทธในวันมาฆบูชา ที่ควรทราบมีดังนี้

๑. จัดเตรียมเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน มาพร้อมกันที่วัด ตามเวลานัดหมาย เพื่อฟังโอวาทหรือพระธรรมเทศนา สวดมนต์ และเวียนเทียน

๒. ก่อนออกจากบ้าน ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสและแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

๓. เมื่อถึงวัดแล้ว ควรอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยหยอกล้อ วิ่งเล่น หรือกระทำภารกิจอื่นอันไม่สมควร เช่น เคาะระฆังเล่น จุดดอกไม้ไฟ ฯลฯ

๔. เมื่อถึงเวลาประกอบพิธี ให้ทุกคนไปเข้าแถวหรือเข้าไปในสถานที่กำหนดโดยพร้อมเพรียงกัน

๕. ก่อนเริ่มพิธีเวียนเทียน พระสงฆ์ผู้เป็นประธาน จะกล่าวให้โอวาท ทุกคนต้องพนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนตั้งใจฟังด้วยความสงบ กล่าวคำสาธุเมื่อพระสงฆ์ให้โอวาทจบ

๖. ในพิธีสวดมนต์ จะมีผู้กล่าวนำคำบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา และคำบูชาพระรัตนตรัย ให้ทุกคนจุดธูปเทียนประนมมือ กล่าวตามด้วยความเคารพ มีจิตใจยึดมั่น

บทสวดมนต์ในการทำพิธีวันมาฆบูชา มีดังนี้

๑. บทสวดมนต์ไหว้พระบูชาพระรัตนตรัย (บทอรหัง สัมมา ฯ)

๒. บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (บทนโม ฯ 3 จบ)

๓. บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทอิติปิโสฯ )

๔. บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทองค์ใดพระสัมพุทธ ฯ)

๕. บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวากขาโตฯ)

๖. บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทธรรมะคือ คุณากรฯ)

๗. บทสวดสรรเสริญพระสงฆคุณ (บทสุปฏิปันโนฯ)

๘. บทสวดสรรเสริญพระสงฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสงฆ์ใดสาวกศาสดาฯ)

๙. บทสวดพุทธมังคลชยสิทธิคาถา (บทพาหุงฯ)

๑๐.และคำแปลบทสวดพุทธมังคลชยสิทธิคาถา สวดทำนางสรภัญญะ (ปางเมื่อพระองค์ฯ)

๑๑. บทสวดบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา (อัชชายังฯลฯ)

หลังจากสวดมนต์เสร็จ ประธานในพิธีจะนำเวียนเทียน โดยเริ่มจากพระสงฆ์ สามเณรอุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป

ในการเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์ จะกระทำ 3 รอบ โดยเวียนไปทางขวา เรียกว่า เวียนแบบทักขิณาวัฎ

ในรอบที่ ๑ ให้รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาคาถา บทอิติปิโส ภควาฯ ไปจนจบ เมื่อให้จิตมีสมาธิ

ในรอบที่ ๒ ให้รำลึกถึงคุณพระธรรม โดยภาวนาคาถา บทสวดสวากขาโต ภะคะวะตาธัมโมฯ ไปจนจบ

ในรอบที่ ๓ ให้รำลึกถึงคุณพระสงฆ์ โดยภาวนาคาถา บทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ

๑. ในการเดินเวียนเทียน ต้องทำจิตใจให้มีสมาธิ สงบ และแน่วแน่อยู่กับบทบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ไม่ควรส่งเสียงพูดคุยหรือเดินแซงผู้ที่เดินอยู่ข้างหน้า

๒. เมื่อเวียนเทียนครบ 3 รอบแล้ว ให้นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปวางไว้ในจุดกำหนดเพื่อสะดวกแก่การเก็บทำความสะอาด

๓. หลังจะเสร็จพิธีเวียนเทียนแล้ว ควรช่วยกันเก็บกวาดทำความสะอาดบริเวณโบสถ์ให้เรียบร้อย แล้วแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความสงบอิ่มเอมใจ หรืออยู่ร่วมพิธีอื่น ๆ ที่ทางวัดจัดให้มีขึ้น

วันวาเลนไทน์

ความรู้จากLABคอมพิวเตอร์

ยินดีต้อนรับขณะกรรมการที่จะมาประเมินโรงเรียนในฝันรุ่นที่3
ในวันที่ 15 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
ดิฉันได้อยู่การสืบค้นข้อมูลโดยlabคอมพิวเตอร์มีกิจกรรมอยู่6กิจกรรมคือ
1.การสืบค้นข้อมูล
2.การทำหนังสืออีเล็กทรอนิกส์
3.การตัดต่อวีดีโอ
4.การออกแบบผลิตภัณฑ์
5.การสร้างเว็บไซต์
6.การสร้างการ์ตูนจากโปรแกรม Flash

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข่าวพม่ากับไทย

ชาวรัฐฉาน ตื่นข่าวพม่าเตรียมรบว้า แห่อพยพเข้าไทย

(SHAN 29 เม.ย. 53) - ชาวรัฐฉานหลายหมู่บ้าน ตรงข้ามอ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ทั้งว้า ไทใหญ่ ตื่นกระแสข่าวพม่าเตรียมโจมตีว้า UWSA หลังพ้นเส้นกำหนดตั้งหน่วยพิทักษ์ชายแดน พากันอพยพมายังชายแดนไทยนับร้อยคน....


มีรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. เป็นต้นมา ได้มีชาวบ้านในฝั่งรัฐฉาน สหภาพพม่า หลายหมู่บ้าน เช่น บ้านนากองมู บ้านห้วยอ้อ บ้านปุ่งป่าแขม ตรงข้ามอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พากันอพยพมายังชายแดนไทยอย่างต่อเนื่อง เหตุเนื่องจากมีกระแสข่าวลือกองทัพรัฐบาลทหารพม่า เตรียมเปิดฉากโจมตีกองกำลังว้า UWSA ที่ไม่ยอมรับข้อเสนอจัดตั้งเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน ตามเส้นตายที่กำหนดไว้ในวันที่ 28 เม.ย.


ทั้งนี้ ชาวบ้านที่อพยพมามีทั้งชาวว้า และชาวไทใหญ่ ซึ่งมีทั้งคนเฒ่าคนแก่และลูกเล็กเด็กแดง รวมจำนวนหลายร้อยคน โดยผู้อพยพที่สามารถข้ามเข้ามาในฝั่งไทยได้พากันไปอาศัยอยู่ในหลายหมู่บ้าน ในตำบลทุ่งข้าวโปง อำเภอเชียงดาว ส่วนผู้ที่ยังไม่สามารถข้ามเข้ามา ได้กระจายกันอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ใกล้ชายแดนไทย ขณะที่มีผู้อพยพบางส่วนได้ไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านหนองแวน หมู่บ้านของชาวว้า อยู่ห่างจากชายแดนไทยประมาณ 7 – 8 กม.

ผู้อพยพคนหนึ่งเล่าว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย. มีกระแสข่าวลือหนาหูว่า จะเกิดการสู้รบกันระหว่างกองทัพพม่า กับกองกำลังว้า UWSA ที่ไม่ยอมรับข้อเสนอรัฐบาลทหารพม่า โดยนายทหารว้าคนหนึ่งกล่าวกับชาวบ้านว่า หลังวันที่ 28 เม.ย. อาจเกิดการสู้รบกันขึ้นได้ และมีแนวโน้มที่กองทัพพม่าจะใช้ปืนใหญ่และเครื่องบินรบช่วยโจมตีด้วย

มีรายงานอีกว่า มีชาวว้าจากหมู่บ้านห้องลึก บ้านจองตอ บ้านหนองหญ้าไทร บ้านน้ำฮูนายแสง และบ้านห้วยอ้อม ในฝั่งรัฐฉาน พากันอพยพมายังชายแดนไทยด้านดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เป็นจำนวนมากด้วย ขณะที่ครอบครัวของทหารว้า ที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ดังกล่าวก็ได้พากันอพยพไปยังบ้านเมืองจ๊อด ที่ตั้งบก.ใหญ่อีกแห่งของกองกำลังว้า UWSA ในสังกัดพื้นที่รับชอบของหน่วย 171 เช่นเดียวกัน


กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ SSA-N รับข้อเสนอพม่าแล้ว หลังทนแรงกดดันไม่ไหว


(SHAN 27 เม.ย. 53) กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ภาคเหนือ SSA-N ที่มีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่บ้านแสงแก้ว เขตอำเภอเมืองสี่ป้อ ตัดสินใจรับข้อเสนอพม่าเปลี่ยนสถานภาพกองกำลังแล้ว หลังถูกกดดันอย่างหนัก แต่ยังคงมีกำลังพลส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม....

มีรายงานจากแหล่งข่าวในรัฐฉานว่า กองทัพรัฐฉาน “เหนือ” หรือกลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ภาคเหนือ SSA-N [Shan State Army-North] ที่มีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่บ้านแสงแก้ว ในเขตอำเภอเมืองสี่ป้อ รัฐฉานภาคเหนือ ได้ตัดสินใจยอมรับข้อเสนอรัฐบาลทหารพม่า ในการเปลี่ยนสถานภาพกองกำลังเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดนแล้ว หลังถูกรัฐบาลทหารพม่ากดดันอย่างหนักตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

กำลังพลของ SSA-N ที่ร่วมแปลงสภาพกองกำลังมีราว 900-1,000 นาย หรือราว 3 กองร้อย โดยการตัดสินใจรับข้อเสนอมีขึ้น หลังผู้นำระดับสูงของ SSA-N รวม 12 คน นำโดย พล.ต.หลอยมาว ประธานสูงสุดเข้าพบหารือพล.ต.อ่องตานทุต แม่ทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ที่เมืองล่าเสี้ยว เมื่อวันที่ 22 เม.ย. อันเป็นวันสิ้นสุดกำหนดส่งมอบบัญชีกำลังพลและอาวุธให้กับรัฐบาลทหารพม่า

พิธีแปลงสภาพกองกำลังอย่างเป็นทางการมีขึ้นเมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่เมืองล่าเสี้ยว ภายใต้ชื่อ หน่วยพิทักษ์พื้นที่ Home Guard Force (HGF) ซึ่งไม่ได้เป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน Border Guard Force (BGF) เนื่องจากพื้นที่เคลื่อนไหวของ SSA-N ไม่ได้อยู่ติดชายแดนเช่นกลุ่มหยุดยิงอื่น ขณะที่แม่ทัพภาคพม่าได้ออกบัตรประจำตัวให้แก่กำลังพลที่เข้ารับการเปลี่ยนสถานภาพด้วย

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า กำลังพลส่วนใหญ่ของ SSA-N ยังปฏิเสธที่จะแปลงสภาพตามข้อเสนอของรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งกำลังพลที่รับจัดตั้งเป็นหน่วย HGF เป็นกำลังพลในสังกัดกองพลน้อยที่ 3 เท่านั้น ขณะที่กำลังพลกองพลน้อยที่ 1 และ 7 ซึ่งมีกำลังทหารมากที่สุดยังคงเคลื่อนไหวตามปกติ

สำหรับกลุ่มหยุดยิงไทใหญ่เหนือ SSA-N มีกำลังพลราว 3 – 4 พันนาย แบ่งออกเป็น 3 กองพลน้อย ได้แก่กองพลน้อยที่ 1 , 3 และ 7 กองพลน้อยที่ 1 มีกำลังพลมากสุดราว 2,500 นาย มีพล.ต.ป่างฟ้า เป็นผบ. เคลื่อนไหวในพื้นที่เมืองเกซี กองพลน้อยที่ 3 มีกำลังพลราว 1,000 นาย มีพล.ต.หลอยมาว เป็นผบ. เคลื่อนไหวพื้นที่เมืองเคอ เมืองไหย๋ และกองพลน้อยที่ 7 มีกำลังพลราว 500 นาย มีพล.ต.ก่ายฟ้า เป็นผบ. เคลื่อนไหวพื้นที่เมืองก๋าลิ สี่ป้อ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลทหารพม่าได้กำหนดให้กลุ่มหยุดยิงส่งมอบบัญชีกำลังพลและอาวุธในวันที่ 22 เม.ย. พร้อมกับขีดเส้นตายให้กลุ่มหยุดยิงต่างๆ จัดตั้งเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน Border Guard Force ภายในวันที่ 28 เม.ย. แต่จนถึงขณะนี้ กลุ่มหยุดยิงส่วนใหญ่ยังไม่แสดงท่าทีตอบรับแต่อย่างใด

ขณะที่มีรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีการร่วมหารือกันของกลุ่มหยุดยิงในรัฐฉาน เพื่อหาแนวทางรักษาความปลอดภัยร่วมกันหากเกิดสงครามขึ้น โดยกลุ่มหยุดยิงที่ร่วมหารือมี 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กองทัพสหรัฐกองทัพเอกราชคะฉิ่นกองทัพสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย หรือ กลุ่มหยุดยิงเมืองลา


พม่าลองเชิงกลุ่มหยุดยิงว้า เปิดฉากถล่มก่อนอ้างเข้าใจผิด


(SHAN 26 เม.ย. 53) ทหารพม่าลองเชิงกลุ่มหยุิดยิง เพียงพ้นเส้นกำหนดส่งมอบบัญชีตั้งหน่วยพิทักษ์ชายแดน 1 วัน เปิดฉากโจมตีกองกำลังว้า UWSA สองครั้ง อ้างเข้าใจเป็นทหารไทใหญ่ SSA ขณะที่ว้า ชี้เป็นการจงใจข่มขู่ .....

มีรายงานจากแหล่งข่าวชายแดนว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังว้า UWSA ในพื้นที่อำเภอเมืองสาด รัฐฉานภาคตะวันออก ตรงข้ามอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 2 ครั้ง โดยการปะทะครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 23 เม.ย. ตรงบริเวณทิศตะวันออกของเมืองตุม ใช้เวลานานกว่า 15 นาที และครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 24 เม.ย. ตรงบริเวณเชิงดอยผ้าห่มปุก อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ การปะทะใช้เวลานานประมาณ 10 นาที

ทั้งนี้ การปะทะกันทั้งสองครั้งเกิดขึ้นหลังจากทหารพม่าเป็นฝ่ายเปิดฉากยิงเข้าใส่ชุดลาด ตระเวนกองกำลังว้า UWSA ก่อน และการปะทะทั้งสองครั้งได้ยุติลงหลังฝ่ายกองกำลังว้า UWSA ส่งเสียงตะโกนว่าเป็นกองกำลังว้า UWSA ไม่ใช่ศัตรูกัน ซึ่งหลังการปะทะทางฝ่ายทหารพม่าได้ทำทีแสดงความเสียใจ โดยอ้างว่าเป็นการเข้าใจผิดคิดว่าทหารว้าเป็นกองกำลังไทใหญ่ SSA อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานผลการสูญเสียจากการปะทะกันของทั้งสองฝ่ายแต่อย่างใด

เหตุการปะทะทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้น หลังจากรัฐบาลทหารพม่ามีความพยายามกดดันให้กลุ่มหยุดยิงต่างๆ เปลี่ยนสถานะภาพกองกำลังเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF-Border Guard Force ต่อเนื่อง และเกิดขึ้นเพียง 1 วัน หลังพ้นกำหนดวันที่รัฐบาลทหารพม่าขีดเส้นให้กลุ่มหยุดยิงส่งมอบบัญชีกำลังพล และอาวุธในวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้กำหนดเส้นตายให้กลุ่มหยุดยิงจัดตั้งเป็นหน่วย พิทักษ์ชายแดน ภายในวันที่ 28 เม.ย. นี้

อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีกลุ่มหยุดยิงใดในรัฐฉานสนองรับข้อเสนอของรัฐบาลทหารพม่า ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของว้า UWSA เปิดเผยถึงเหตุทหารพม่าโจมตีชุดลาดตระเวนกองกำลังว้า UWSA ว่า เป็นการจงใจเพื่อหวังข่มขู่หรือลองเชิงกลุ่มหยุดยิงว้า UWSA มากกว่า

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันตรุษจีน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป

สำหรับที่มาของ วันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง

ส่วนการกำหนด วันตรุษจีน นั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ

การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้านทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ

จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับ วันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง







นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน คือ "อั่งเปา" ซึ่งมีความหมายว่า "กระเป๋าแดง" หรือจะใช้คำว่า "แต๊ะเอีย" ซึ่งมีความหมายว่า "ผูกเอว" จากที่คนสมัยก่อนชอบร้อยเงินเป็นพวงผูกไว้ที่เอว โดยการให้อั่งเปานี้ คู่แต่งงานจะให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว จะออกมาจากบ้านเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติ และด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป)

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

วันขึ้นปีใหม่

ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่


ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ



ประวัติความเป็นมา

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ


สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ